ชื่อจริง : Park Jung Su (พัค จอง ซู)
|
วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555
ประวัติ " Super Junior "
" Super Junior " ^^'
วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555
ชนิดของการสื่อสารข้อมูล
ชนิดของการสื่อสารข้อมูล วิธีการสื่อสารข้อมูล (DATA TRANSMISSION) ลักษณะของการสื่อสารข้อมูล มี 2 รูปแบบคือ การสื่อสารแบบอนุกรม (serial data transmission) และการสื่อสารแบบขนาน (parallel data transmission) การสื่อสารแต่ละรูปแบบมีรายละเอียดดังนี้ 1. การสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรม (serail data transmission) เป็นการส่งข้อมูลครั้งละ 1 บิต ไปบนสัญญาณจนครบจำนวนข้อมูลที่มีอยู่ สามารถนำไปใช้กับสื่อนำข้อมูลที่มีเพียง1ช่องสัญญาณได้ สื่อนำข้อมูลที่มี 1 ช่องสัญญาณนี้จะมีราคาถูกกว่าสื่อนำข้อมูลที่มีหลายช่องสัญญาณ และเนื่องจากการสื่อสารแบบอนุกรมมีการส่งข้อมูล ได้ครั้งละ 1 บิตเท่านั้น การส่งข้อมูลประเภทนี้จึงช้ากว่าการส่งข้อมูลครั้งละหลายบิต 2. การสื่อสารข้อมูลแบบขนาน (parallel data transmission) เป็นการส่งข้อมูลครั้งละหลายบิตขนานกันไปบนสื่อนำข้อมูลที่มีหลายช่องสัญญาณ วิธีนี้จะเป็นวิธีการส่งข้อมูลที่เร็วกว่าการส่งข้อมูลแบบอนุกรมจากรูป เป็นการแสดงการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ 2 ตัว ที่มีการส่งข้อมูลแบบขนาน โดยส่งข้อมูลครั้งละ 8 บิตพร้อมกัน รูปแบบการสื่อสารข้อมูล (MODES OF DATA TRANSMISSION) รูปแบบการสื่อสารข้อมูล แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1.การส่งข้อมูลแบบไม่ประสานจังหวะ (asynchronous transmission) เป็นวิธีการส่งข้อมูลไปบนสื่อนำข้อมูล โดยข้อมูลที่ส่งไปนั้นไม่มีจังหวะการส่งข้อมูล แต่จะส่งเป็นชุดๆมีช่องว่าง (gap) อยู่ระหว่างข้อมูล แต่ละชุดเพื่อใช้แบ่งข้อมูลออกเป็นชุดๆเมื่อเริ่มต้นส่งข้อมูลแต่ละชุดจะมีสีญญาณบอกจุดเริ่มต้นของข้อมูลขนาด 1 บิต (start bit) และมีสัญญาณบอกจุดสิ้นสุดของข้อมูลขนาด 1 บิต (stop bit) ตัวอย่างเช่น ถ้าขนาดข้อมูลแต่ละชุดมีขนาด 8 บิต ลักษณะของการส่งข้อมูล จะมีลำดับ ดังนี้คือ สัญญาณบอกจุดเริ่มต้นขนาด 1 บิตข้อมูล 8 บิต และสัญญาณบอกจุดสิ้นสุด 1 บิต ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบไม่ประสาน จังหวะ เช่น การส่งข้อมูล ของแป้นพิมพ์ และโมเด็ม เป็นต้น 2.การส่งข้อมูลแบบประสานจังหวะ (synchronous transmission) เป็นการส่งข้อมูลไปบนสื่อนำข้อมูลที่มีลักษณะเป็นกลุ่มของข้อมูลที่ต่อเนื่องกันอย่างเป็นจังหวะ โดยใช้สัญญาณนาฬิกาเป็นตัวบอก จังหวะ เหล่านั้นการส่งข้อมูลวิธีนี้จะไม่มีช่องว่าง(gap) ระหว่างข้อมูลแต่ละชุดและไม่มีสัญญาณบอกจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดการส่งข้อมูล แบบประสานจังหวะนิยมใช้กับการส่งข้อมูล ของระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีการส่งข้อมูล ปริมาณมากๆ ด้วยความเร็วสูง |
เครดิต : http://school.obec.go.th/prathueang/network/communication_system.html |
ระบบการสื่อสารข้อมูล
ระบบการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับโดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจ ซึ่งกันและกัน วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้นกลับมาให้อยู่่ในรูปที่มนุษย์สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือสิ่งรบกวน(Noise)จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหาย หรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวนเหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้ 1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร(source)
อาจจะเป็นสัญญาณต่างๆเช่น สัญญาณภาพ ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่างๆก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสารจัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink)
ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใด ที่การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้นๆถ้าผู้รับสาร หรือจุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3. ช่องสัญญาณ(channel)
หมายถึง สื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่านอาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่างๆหรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น ปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส(encoding)
เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมายจึงมีความจำเป็นต้องแปลง ความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่าง ผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส(decoding)
หมายถึง การที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน(noise)
เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมุติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาดตำแหน่ง ที่ใช้วิเคราะห์ มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติ มักจะใช้ วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่นการเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วยข่ายการสื่อสารข้อมูล หมายถึง การรับส่งข้อมูล หรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยอาศัยระบบการส่งข้อมูลทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks) องค์ประกอบพื้นฐาน 1. หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit) 2. หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit) 3. ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel) 1. เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ 2. เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล 3. เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว 4. เพื่อลดเวลาการทำงาน 5. เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร 6. เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล 1. การจัดเก็บข้อมูลได้ง่าย และสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บซึ่อยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึกที่มีความหนาแน่นสูงแผ่นบันทึกแผ่นหนึ่ง สามารถ บันทึกข้อมูล ได้มากกกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ในอัตรา120 ตัวอักษรต่อวินาทีแล้วจะส่งข้อมูล 200 หน้าได้ในเวลา 40 นาที โดยไม่ต้องเสียเวลานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก 2. ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติวิธีส่งข้อมูลด้วยสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งด้วยระบบดิจิตอล วิธีการส่งข้อมูลนั้นมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูล หากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้ และพยายามหาวิธีแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ ทำการส่งใหม่ หรือกรณีที่ผิดพลาดไม่มากนัก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้ 3. ความเร็วของการทำงาน โดยปกติสัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่ง ไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง หรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้รวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายยิ่งขึ้นเช่น บริษัทสายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที 4. ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าหากันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูล ทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลประหยัดขึ้น เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น สามารถส่งข้อมูลให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้ |
เครดิต : http://school.obec.go.th/prathueang/network/communication_system.html |
ระบบสารสนเทศ (Information system)
ระบบสารสนเทศ (Information system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด รวบรวม จัดเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ การวางแผน การบริหาร การควบคุม การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร (สุชาดา กีระนันทน์, 2541)
ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดขององค์ประกอบที่ทำหน้าที่รวบรวม ประมวลผล จัดเก็บ และแจกจ่ายสารสนเทศ เพื่อช่วยการตัดสินใจ และการควบคุมในองค์กร ในการทำงานของระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 อย่าง คือ การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input) การประมวลผล (Processing) และ การนำเสนอผลลัพธ์ (Output) ระบบสารสนเทศอาจจะมีการสะท้อนกลับ (Feedback) เพื่อการประเมินและปรับปรุงข้อมูลนำเข้า ระบบสารสนเทศอาจจะเป็นระบบที่ประมวลด้วยมือ(Manual) หรือระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้ (Computer-based information system –CBIS) (Laudon & Laudon, 2001)
แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงระบบสารสนเทศ มักจะหมายถึงระบบที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม
ระบบสารสนเทศ หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บข้อมูล และประมวลผลเป็นสารสนเทศ และระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ต้องอาศัยฐานข้อมูล (CIS 105 -- Survey of Computer Information Systems, n.d.)
ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดของกระบวนการ บุคคล และเครื่องมือ ที่จะเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ (FAO Corporate Document Repository, 1998) ระบบสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นระบบมือหรือระบบอัตโนมัติ หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วย คน เครื่องจักรกล(machine) และวิธีการในการเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูล และเผยแพร่ข้อมูล ให้อยู่ในลักษณะของสารสนเทศของผู้ใช้ (Information system, 2005)
สรุปได้ว่า ระบบสารสนเทศ ก็คือ ระบบของการจัดเก็บ ประมวลผลข้อมูล โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับงานหรือภารกิจแต่ละอย่าง
Laudon & Laudon (2001) ยังอธิบายว่าในมิติทางธุรกิจ ระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ช่วยแก้ปัญหาการจัดการขององค์กร ซึ่งถูกท้าทายจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการใช้ระบบสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องเข้าใจองค์กร(Organzations) การจัดการ (management) และเทคโนโลยี (Technology)
ประเภทของระบบสารสนเทศ
ปัจจุบันจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร กับระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศชัดเจนมากขึ้น และเนื่องจากการบริหารงานในองค์กรมีหลายระดับ กิจกรรมขององค์กรแต่ละประเภทอาจจะแตกต่างกัน ดังนั้นระบบสารสนเทศของแต่ละองค์กรอาจแบ่งประเภทแตกต่างกันออกไป
(สุชาดา กีระนันทน์, 2541)
ถ้าพิจารณาจำแนกระบบสารสนเทศตามการสนับสนุนระดับการทำงานในองค์กร จะแบ่งระบบสารสนเทศได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้ (Laudon & Laudon, 2001)
1. ระบบสารสนเทศสำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน (Operational – level systems) ช่วยสนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในส่วนปฏิบัติงานพื้นฐานและงานทำรายการต่างๆขององค์กร เช่นใบเสร็จรับเงิน รายการขาย การควบคุมวัสดุของหน่วยงาน เป็นต้น วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยการดำเนินงานประจำแต่ละวัน และควบคุมรายการข้อมูลที่เกิดขึ้น
2. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ชำนาญการ (Knowledge-level systems) ระบบนี้สนับสนุนผู้ทำงานที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับข้อมูล วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยให้มีการนำความรู้ใหม่มาใช้ และช่วยควบคุมการไหลเวียนของงานเอกสารขององค์กร
3. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Management - level systems) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตรวจสอบ การควบคุม การตัดสินใจ และการบริหารงานของผู้บริหารระดับกลางขององค์กร
4. ระบบสารสนเทศระดับกลยุทธ์ (Strategic-level system) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยการบริหารระดับสูง ช่วยในการสนับสนุนการวางแผนระยะยาว หลักการของระบบคือต้องจัดความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอกกับความสามารถภายในที่องค์กรมี เช่นในอีก 5 ปีข้างหน้า องค์กรจะผลิตสินค้าใด
เครดิต : http://blog.eduzones.com/dena/4892
วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555
เนื้อเพลง oppa oppa Eunhae♥
Ah, Ah, 하나, 둘, 셋.
Ah, Ah, ฮานา ดูล เซ็ด
Ah, Ah, หนึ่ง สอง สาม
Welcome to the Super Show! Let’s Go
My name is DongHae Let’s party tonight
그대의 마음에 불을 질러 내가 원조 여자 킬러
คือ แต เอ มา อึม มี พุล รึล จิล รอ เน กา วอน โจ ยอ จา คิล รอ
ตัวฉันคนที่จุดไฟในใจเธอ ผมนี่แหละผู้พิฆาตใจสาวๆ
문자 썼다 지웠다가 썼다 지웠다가 하게 확 꼬셔 볼라
มุน จา ชอต ตา ชี วอต ตา กา ชอต ตา กา ฮา เก ฮวัค โก ชยอ โพล รา
พิมเมจเสจแล้วก็ลบ แล้วก็พิมพ์แล้วก็ลบ ต้องมัดใจไว้ให้ได้
밤에 잠 못 자게 미치도록 가만두지 않아
พัม เม ชัม มด ชา เก มี ชี โท รค คา มัน ดู จี อัน นา
ยามค่ำคืนก็นอนไม่หลับ ว้าวุ่นเหมือนกับบ้า
나를 말릴 생각 하지 마라 그러다가 다친다
นา รึล มัล ริล เซ็ง กัก ฮา จี มา รา คือ รอ ตา กา ทา ชิน ดา
อย่าคิดจะห้ามฉัน ถ้าทำอย่างนั้นเธอจะเจ็บนะ
아싸 삘 받았어 밤새도록 달릴까
อา จา พิล พัด ดัด ซอ พัม เส โท รค ทัล ริล กา
ลุยเลย มาสุดเหวี่ยงกันทั้งคืนจนตัวตายเลยไหม
누굴 내 맘대로 밤새 불을 지를까
นูก กุล เน มัม แต โร พัม เส พุล รึล จี รึล กา
ใครจะมาให้ผมจุดไฟให้ทั้งคืนไหม
Hey won't you take me to funky town
I’m international Baby 1,2,3 Let’s go
내가 떴다 하면 다 외쳐 오빠, 오빠.
เน กา ตอด ตา ฮา มยอน เว ชยอ โอ ปา โอ ปา
ถ้าผมออกมาเมื่อไหร่ ทุกคนร้อง โอป้า โอป้า
Tokyo, London, New York, Paris, 오빠, 오빠.
โตเกียว ลอนดอน นิวยอร์ค ปารีส โอ ปา โอ ปา
I’m so cool, I’m so cool, Party like a superstar,
이쁜이들 다 모여라 떴다 오빠, 오빠.
อี ปึน นี ดึล ทา โม ยอ รา ตอด ตา โอ ปา โอ ปา
คนสวยทั้งหลาย มาเร็ว โอป้ามาแล้ว โอป้า
이리저리 이쁜이 있는 곳에 가서 (HOLLA)
อี รี ชอ รี อี ปึน นี อิด นึน กด เช คา ซอ (HOLLA)
ไปที่โน่นที่นี่ ที่มีคนสวยอยู่ (HOLLA)
요리조리 다니면서 Shawty Shawty (HOLLA)
โย รี โช รี ทา นี มยอน ซอ Shawty Shawty (HOLLA)
ไปที่โน่นที่นี่ แล้วก็ Shawty Shawty (HOLLA)
오빠오빠 라고 다 불러 난 국제적인 오빠
โอ ปา โอ ปา รา โก ทา พุล รอ นัน คุก เจ จอก อิน โอ ปา
ทุกคนเรียกผม โอป้า โอป้า ผมน่ะโอป้าระดับอินเตอร์
집에 가지마 라고 하지마 난 모든 이의 오빠
ชิบ เบ คา จี มา รา โก ฮา จี มา นัน โม ดึน อี อึย โอ ปา
อย่าบอกว่า ไม่ให้กลับบ้าน ผมน่ะเป็นโอป้าของทุกคน
아싸 기분 좋다 오늘 계속 달릴까
อา จา คิ บุน ชด ทา โอ นึล เค ซค ทัล ริล กา
ลุยเลย อารมณ์ดีสุดๆ วันนี้สุดเหวี่ยงกันต่อเลย
누굴 내 맘대로 밤새 불을 지를까
นูก กุล เน มัม แต โร พัม เส พุล รึล จี รึล กา
ใครจะมาให้ผมจุดไฟให้ทั้งคืนไหม
Hey won't you take me to funky town
I’m international Baby 1,2,3 Let’s go
내가 떴다 하면 다 외쳐 오빠, 오빠.
เน กา ตอด ตา ฮา มยอน เว ชยอ โอ ปา โอ ปา
ถ้าผมออกมาเมื่อไหร่ ทุกคนร้อง โอป้า โอป้า
Tokyo, London, New York, Paris, 오빠, 오빠.
โตเกียว ลอนดอน นิวยอร์ค ปารีส โอ ปา โอ ปา
I’m so cool, I’m so cool, Party like a superstar,
이쁜이들 다 모여라 떴다 오빠, 오빠.
อี ปึน นี ดึล ทา โม ยอ รา ตอด ตา โอ ปา โอ ปา
คนสวยทั้งหลาย มาเร็ว โอป้ามาแล้ว โอป้า
내가 떴다 하면 다 외쳐 오빠, 오빠.
เน กา ตอด ตา ฮา มยอน เว ชยอ โอ ปา โอ ปา
ถ้าผมออกมาเมื่อไหร่ ทุกคนร้อง โอป้า โอป้า
Tokyo, London, New York, Paris, 오빠, 오빠.
โตเกียว ลอนดอน นิวยอร์ค ปารีส โอ ปา โอ ปา
I’m so cool, I’m so cool, Party like a superstar,
이쁜이들 다 모여라 떴다 오빠, 오빠.
อี ปึน นี ดึล ทา โม ยอ รา ตอด ตา โอ ปา โอ ปา
คนสวยทั้งหลาย มาเร็ว โอป้ามาแล้ว โอป้า
내가 떴다 하면 다 외쳐 오빠, 오빠.
เน กา ตอด ตา ฮา มยอน เว ชยอ โอ ปา โอ ปา
ถ้าผมออกมาเมื่อไหร่ ทุกคนร้อง โอป้า โอป้า
Tokyo, London, New York, Paris, 오빠, 오빠.
โตเกียว ลอนดอน นิวยอร์ค ปารีส โอ ปา โอ ปา
I’m so cool, I’m so cool, Party like a superstar,
이쁜이들 다 모여라 떴다 오빠, 오빠.
อี ปึน นี ดึล ทา โม ยอ รา ตอด ตา โอ ปา โอ ปา
คนสวยทั้งหลาย มาเร็ว โอป้ามาแล้ว โอป้า
내가 떴다 하면 다 외쳐 오빠, 오빠.
เน กา ตอด ตา ฮา มยอน เว ชยอ โอ ปา โอ ปา
ถ้าผมออกมาเมื่อไหร่ ทุกคนร้อง โอป้า โอป้า
Tokyo, London, New York, Paris, 오빠, 오빠.
โตเกียว ลอนดอน นิวยอร์ค ปารีส โอ ปา โอ ปา
I’m so cool, I’m so cool, Party like a superstar,
이쁜이들 다 모여라 떴다 오빠, 오빠.
อี ปึน นี ดึล ทา โม ยอ รา ตอด ตา โอ ปา โอ ปา
คนสวยทั้งหลาย มาเร็ว โอป้ามาแล้ว โอป้า
เครดิต : http://www.siamzone.com/board/view.php?sid=2801388
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)